ในบางครอบครัว และบางกรณีนั้น เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ได้เนื่องจากปัจจัยความจำเป็นต่างๆ ที่ทำให้เราไม่มีทางเลือกมากนัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหนี้สินที่เกิดขึ้น จะเป็นหนี้ที่เป็นประโยชน์กับครอบครัว และต้องการการบริหารหนี้ให้มีประสิทธิภาพ เช่น หนี้สินเพื่อซื้อรถยนต์ หนี้สินเพื่อที่อยู่อาศัย หนี้สินเพื่อการศึกษา หนี้สินเพื่อค่ารักษาพยาบาล
เมื่อเป็นความรับผิดชอบที่เพิ่มพูนเข้ามาแลกกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือโอกาสใหม่ๆที่มากขึ้น หนึ่งในความจำเป็นที่เราต้องปรับเปลี่ยนคือ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้เงิน
ปรับพื้นฐานพฤติกรรมการใช้เงิน
- หนี้ใหม่ที่เกิดขึ้นมาต้องเป็นหนี้ที่สร้างรายได้หรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ไม่ใช่หน้สินที่กู้ยืมมาเพื่อใช้สอยในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย
- อย่าหน้ามืดซื้อของที่เกินกำลังตัวทำให้ชำระหนี้ไม่ไหว สติต้องมา อย่าให้ความอยาก ควบคุมเราจนซื้อบ้าน- รถ แพงเกินกำลังเงินครอบครัว
- ด้อยกว่าไม่เป็นไร หากวันดีคืนดี เพื่อนนำของหรูมาอวด เราอย่าเอาอารมณ์ชั่ววูบไปลงแข่งกับเขาด้านฟุ่มเฟือย อยากมีได้ ไม่เป็นไร ไม่ใช่ตอนนี้เดี๋ยวนี้เท่านั้นเอง หันมาขยันทำงาน วางแผนการเงินให้งอกเงย ให้เราพร้อมฟุ่มเฟือยได้ ตอนนั้นไม่สายไป
- การวางแผนการเงินนั้นสำคัญ เริ่มได้เลยตอนนี้ ชีวิตเราจะสบายขึ้น ที่สำคัญควรมีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน
หลังจากปรับนิสัยและทัศนะทางความคิด ก็มาถึงขั้นตอนการวางแผนเพื่อชำระหนี้เพื่อที่จะสามารถบริหารและวางแผนการจัดการหนี้ให้เราสามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้นหรือจัดการหนี้ในแต่ละเดือนให้ไม่เกินกำลังทรัพย์เรา
เริ่มสำรวจหนี้สิน
เราควรเริ่มสำรวจหนี้สินที่มี มีหนี้ทั้งหมดกี่บาท แต่ละก้อนอัตรดอกเบี้ย เป็นเท่าไหร่บ้าง สามารถดูรายละเอียดจากใบแจ้งหนี้/สอบถามสถาบันการเงิน/ธนาคาร/นายทุน และบันทึกลงโปรแกรม excel ง่ายๆ หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้เก็บไว้ช่วยจดบันทึก
จัดประเภทและเรียงลำดับหนี้สิน โดยแบ่งง่ายๆเป็น 2 กลุ่ม
- หนี้ระยะสั้น : มียอดไม่สูงสามารถขายทรัพย์สินเพื่อโปะได้
- หนี้ระยะยาว : มียอดคงเหลือสูง มีระยะเวลาผ่อนชำระนาน ไม่สามารถขายทรัพย์เพื่อโปะหนี้ได้
จัดกลุ่มหนี้แล้วก็ลองนำรายการหนี้แต่ละประเภทมาเรียงลำดับเพื่อเตรียมการวางแผนจัดการหนี้ตามรายรับที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยอาจเลือกจัดการกับหนี้สินประเภทใดประเภทหนึ่งก่อน เช่น
- หนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงที่สุด เพื่อเป็นการช่วยประหยัดเงินค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
- หนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุด การจัดการหนี้ที่ยอดคงเหลือน้อยสุดให้หมดไปก่อน จะทำให้เรามีเงินเหลือเพื่อนำไปชำระหนี้ก้อนอื่นได้
วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น
- ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ อาจเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆเช่น หาวิธีลดรายจ่าย ค่าน้ำ/ค่าไฟ/น้ำมัน และอาชีพเสริมที่ช่วยเพิ่มรายได้เรา
- ทรัพย์ที่มีอยู่ อาจช่วยคุณหลุดพ้นจากหนี้ได้หากตัดสินใจขาย
- ติดต่อสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้หากเจออุบัติเหตุทำให้ชำระเดือนนั้นๆไม่ไหว ซึ่งแต่ละที่มีเงื่อนไขช่วยเหลือลูกหนี้ไม่เหมือนกัน โทรหาได้ไม่เป็นไร หรือหากโดนทวง ก็ลองปรึกษาดูได้ หากหนีหนี้ จะเกิดความลำบากมากมายภายหลัง
บทสรุป
อ่านมาจนถึงบทสรุปสุดท้าย ทางทุนแหลมทองอยากให้ทุกคนมีภูมิคุ้มกันลองปรับตัวเมื่อยามจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน การกู้ยืมจะไม่ใช่เรื่องผิดหรือน่ากลัวหากเราบริหารได้ โดยสรุปจากบทความสั้นๆดังนี้
ปรับพื้นฐานพฤติกรรมการใช้เงิน
- หนี้ใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องสร้างรายได้หรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
- ต้องมีสติในการใช้จ่าย ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังทรัพย์
- อย่าเข้าไปพยายามอวดรวยกับคนอื่นในช่วงเวลาที่เราไม่พร้อม
- เริ่มวางแผนการเงิน/ออมเผื่อฉุกเฉิน
ลองสำรวจหนี้มี
- หนี้ระยะสั้น : ยอดต่ำโปะได้
- หนี้ระยะยาว : ยอดสูงผ่อนนาน
เรียงลำดับหนี้แล้วลองเลือกจัดการกับหนี้สินประเภทใดประเภทหนึ่งก่อน
วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น
- ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
- ขายทรัพย์บางส่วนเพื่อโปะหนี้
- ติดต่อและปรึกษากับสถาบันที่ติดหนี้โดยตรงหากชำระไม่ทันจริงๆ
อ้างอิง
https://www.1213.or.th/th/Pages/finresilience/debtmgt.aspx
https://www.set.or.th/set/financialplanning/knowledgedetail.do?contentId=4865&type=article