ที่ดินติดเสาไฟฟ้าแรงสูงทำอะไรได้บ้าง

ที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูง ข้อควรระวังที่ต้องรู้ !!

แชร์บทความ

ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ปกติแล้วจะถูกรอนสิทธิโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการจ่ายค่ารอนสิทธิกันคล้ายการเวนคืน แต่กรรมสิทธ์ยังเป็นของเจ้าของที่ดินอยู่ไม่ได้โอนไปเหมือนการเวนคืน

โดยที่ดินที่ตั้งอยู่ภายใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงจะถูกรอนสิทธิ ตามประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 กำหนดไว้ดังนี้

  1. ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4.00 เมตร หรือ ห้ามเผ่าไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวสายไฟฟ้า
  2. ห้ามปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอื่น ทุกชนิด ในเขตเดินสายไฟฟ้า
  3. ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้า ดังนี้
    -บริเวณพื้นที่ที่ตั้งเสา และพื้นที่โดยรอบโคนเสา ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ทุกชนิด
    -บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้านอกจากข้อข้างบน ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผล ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีความสูงเกินกว่า 3 เมตร
    -บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า ของสายส่งไฟฟ้า ระดับแรงดัน 500,000 โวลต์ ห้ามปลูกอ้อย
  4. ห้ามกระทำการใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดิน บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรการ กฟผ.ก่อน


ระยะห้ามปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน และ บ้านพักอาศัยในเขตเดินสายไฟฟ้า

ขนาด (กิโลโวลต์)ระยะห้ามจากแนวศูนย์กลางของเสาส่งไฟฟ้า ด้านละ
69 กิโลโวลต์9 เมตร
115 กิโลโวลต์12 เมตร
132 กิโลโวลต์12 เมตร
230 กิโลโวลต์20 เมตร
300 กิโลโวลต์20 เมตร
500 กิโลโวลต์40 เมตร

การสร้างขึ้นหรือทำขึ้น ซึ่งสิ่งใดก็ตามที่นอกเหนือจาก อาคาร โรงเรือน และที่พักอาศัย ไปจนถึงการกระทำใดๆที่ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงพื้นดินบริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กฟผ. ก่อน การอนุญาตให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ กฟผ. กำหนด

ดังนั้น โรงเรือนหรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้น หรือทำขึ้น ต้นไม้หรือพืชผล ที่ปลูกขึ้น การปรับสภาพดิน ขุด เจาะ โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือไม่ได้รับอนุญาต เป็นผลให้ กฟผ.มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย หรือตัดฟันตามสมควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนใดๆทั้งสิ้น

และถ้าหากมันจำเป็นจริงๆที่จะกระทำตามข้อห้ามข้างต้นทั้งหมดจริงๆแล้วล่ะก็ ผู้ดำเนินการเองก็จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กฟผ. เสียก่อน และต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่ กฟผ.ได้กำหนดไว้ทั้งหมดอย่างเคร่งครัดด้วย

ถ้าพิจารณาจากข้อกำหนดพื้นที่ใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง จะเห็นว่าไม่สามารถก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทได้ แม้แต่ปลูกพืชก็ปลูกได้เฉพาะพืชสูงไม่เกิน 3 เมตรเท่านั้น

แล้วที่ดินติดเสาไฟฟ้าสามารถประเมินราคาหรือมีมูลค่าอยู่หรือไม่?

เมื่อมีข้อจำกัดการก่อสร้างและการใช้ประโยชน์เช่นนี้ ก็จะส่งผลต่อราคาที่ดิน โดยในการประเมินค่าโดยทั่วไปแล้ว ผู้ประเมินมักจะไม่ทำการประเมินให้ เนื่องจากเห็นว่าแทบใช้ประโยชนไม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม มูลค่าเมื่อมีที่ดินก็ควรมีอยู่ โดยผู้ประเมินจะพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ ว่าจะสามารถทำอะไรได้ เช่น เป็นที่จอดรถ (เก็บเงิน) เป็นพื้นที่จัดสวน เป็นต้น

ในพื้นที่ชนบท โดยทั่วไปแล้วจะไม่ทำการประเมินราคา เนื่องจากศักยภาพการใช้ประโยชน์ ก็เพียงแต่สามารถปลูกพืช ไม่เกิน 3 เมตร เช่น ทำนา ปลูกผัก เป็นต้น

แล้วที่ดินติดเสาไฟฟ้าแรงสูงจำนองได้ไหม

จากข้อมูลข้างต้น ที่ดินติดเสาไฟฟ้าแรงสูงจึงไม่มีสถาบันการเงินใดรับจำนองที่ดินประเภทนี้ รวมถึงบริษัททุนแหลมทองด้วย การมีที่ดินเหล่านี้ในครอบครองจึงยากต่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อและหากต้องการนำไปใช้ประโยชน์ก็ต้องยื่นเรื่องขอกับ กฟผ. จึงเป็นข้อควรระวัง และตรวจสอบที่ดินให้ดีก่อนทำการซื้อขายที่ดินใดๆก็ตาม

ตรวจสอบได้อย่างไรไม่ให้หลงซื้อ

การจะซื้อที่ดินแปลงใดก็ตาม เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเพราะไม่ให้เสียผลประโยชน์ในการซื้อที่ดินเหล่านี้ ซึ่งบางแปลงอาจมีราคาสูงแต่กลับไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างที่เราต้องการ ซึ่งการตรวจสอบนั้นง่ายมาก หากเราเจอที่ดินที่เราชอบและต้องการซื้อ เพียง เข้าเว็ปไซต์กรมที่ดิน https://landsmaps.dol.go.th/ และทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เลือกจังหวัด และ อำเภอตามข้อมูลบนโฉนด
2. คีย์เลขโฉนดที่ดิน ลงไปให้เรียบร้อย และ กดค้นหา
3. ดูรูปแผนที่ตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีเสาไฟฟ้าแรงสูงใกล้เคียงหรือไม่


แหล่งอ้างอิง

thaiapraisal.org
dotproperty.co.th
freepik.com

แชร์บทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาระจำยอมในที่ดิน

ภาระจำยอม ในที่ดิน ผู้เสียสละให้ที่ดินแปลงของตนเองเป็นบุญให้ที่ดินแปลงอื่นได้รับประโยชน์ มีสิทธิข้อควรรู้อะไรบ้าง

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า